เทคนิคการเตรียมร่างกายสำหรับการสอบรอบสอง
เทคนิคการเตรียมร่างกายสำหรับการสอบพละเข้าเตรียมทหาร(รอบสอง)
การสอบพลศึกษาในรอบสองนั้นสถานีหลัก ๆ ที่น้องทุกคนจำเป็นต้องผ่านให้ได้มีเพียงไม่กี่สถานีเท่านั้น ได้แก่
สถานีว่ายน้ำ 50 เมตร
ซึ่งน้องทุกคนคงจะรู้ตัวเองอยู่แล้วว่าตัวเองว่ายน้ำได้หรือป่าว ถ้าใครที่ว่ายได้แล้วก็ไม่ต้องคิดมากอะไรกับสถานีนี้เพียงแค่ว่ายน้ำเข้า เส้นชัยให้ทันในเวลาที่กำหนดก็พอ(เวลาในแตละเหล่านั้นอาจจะไม่เท่ากัน) ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ว่ายน้ำยังไม่ได้ก็คงต้องคิดหนักหน่อย เพราะว่าสถานีนี้ คนที่ว่ายน้ำไม่ผ่านก็จะถูกฉีกบัตรประจำตัวในการสอบรอบสองทิ้งทันที ถือว่าสอบรองสองไม่ผ่าน ดังนั้นน้องๆ ที่ยังว่ายน้ำไม่ได้ต้องหมั่นไปหัดว่ายน้ำให้ได้หรือว่าให้เป็นเสียก่อน ซึ่งควรจะหัดว่ายน้ำให้เป็นก่อนการมาติวที่ค่ายติวในเดือน มีนาคม อย่าคิดว่าเดี๋ยวค่อยมาหัดว่ายน้ำตอนที่มาติวก็ได้ มันจะทำให้น้องไม่มีสมาธิในการกวดวิชาเพื่อเตรียมตัวสอบ
สถานีดึงข้อ
อย่างน้อยน้องควรหัดดึงให้ได้ประมาณ 4-5 ครั้งก็ได้แล้ว (สำหรับคนที่ยังดึงข้อไม่ขึ้นเลยซักครั้งเดียวนะ) แต่สำหรับคนที่ดึงข้อได้อยู่แล้วก็เอาให้ได้ ประมาณ 10 ครั้งก็น่าจะดี วิธีการหัดดึงข้อก็คือหมั่นหาราวดึงข้อที่ไหนก็ได้ แล้วดึงเล่นบ่อย ๆ เดินผ่านราวดึงข้อก็หมั่นดึงเล่นบ่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 วันน้องก็จะเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีความพัฒนาขึ้น แต่วันนึงน้อง ๆ ต้องดึงอย่างน้อย 2 รอบต่อวันรอบละครั้งสองครั้งก็ได้แล้วแต่ว่าจะมีแรงเท่าไหร่
สถานีวิ่ง 1,000 เมตร
การเตรียมตัวสำหรับสถานีนี้ไม่ยากเลย เพียงแค่น้อง ๆ ต้องออกกำลังกายเป็นประจำ ต้องเป็นกีฬาที่สามารถทำให้น้องได้เหงื่อได้นะ แค่เท่านี้การวิ่ง 1,000 เมตรก็ไม่ใช่เรื่องยาก หรือว่าก่อนการสอบรอบสองประมาณสองอาทิตย์ก็ลองวิ่งจับเวลาที่ระยะ 1,000 เมตร ดูก็ได้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรที่จะวิ่งที่ความเร็วเท่าใด และจะได้รู้ว่าที่วิ่งอยู่นั้นเกินเวลาที่กำหนดหรือไม่ อีกทั้งยังทำให้ร่างกายปรับตัวได้จะได้ไม่เหนื่อยมากเวลาที่วิ่งทดสอบจริง ๆ
สถานีลุกนั่ง
ในท่านี้ก็ไม่ยากอีกเช่นกัน เพียงแค่ก่อนนอนน้อง ๆ ก็ลองทำท่านี้บนเตียงดูก็ได้ โดยกำหนดเป็นครั้ง แล้วทำเป็นเซต เช่น ทำ 20 ครั้ง แล้วพัก แล้วค่อยมาทำต่อก็ได้ ทำซักสองถึงสามเซต หลังจากเมื่อร่างกายเริ่มชินแล้ว ก็เริ่มเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นไปเรื่อย ๆ
เทคนิคการดึงข้ออย่างไร ให้ขี้น
เป็นเกร็ดความรู้ในการดึงข้อให้ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์กับนักเรียนในการสอบภาคพลศึกษา การดึงข้อมีหลักมาให้ปฏิบัติกันดังนี้
1. น้ำหนักตัว ต้องให้ได้มาตราฐาน ไม่น้ำหนักมากเกินไป
2. ข้อมือ และกล้ามเนื้อที่แขน ข้อและกล้ามตรงบริเวณท้องและหัวไหล่ต้องมีความแข็งแรง เพราะต้องเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อดึงตัวขึ้นไป
3. การจับ ราวดึง ต้องใช้มือคว่ำกำรอบใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กำรอบอยู่ด้านบนแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกำรอบอยู่ใต้ราว จะได้มีกำลังในการดึงตัว
4. ความกว้างของราวจับ ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 นิ้ว 2 หุน เพราะถ้าใหญ่เกินไปหรือไม่ได้มาตราฐานจะกำไม่กระชับ จะทำให้ไม่มีแรงดึงขึ้น
5. การวางมือในการจับราวดึง ต้องจับไม่กว้างหรือแคบเกินไป ต้องจับให้พอดี
6. จังหวะในการดึงควรมีจังหวะในการเด้งตัวขึ้น
7. การวางตัวการห้อยตัว ข้อสำคัญคือ เมื่อจับราวห้อยตัวแล้ว ตัวต้องไม่แกว่ง ลำตัวต้องนิ่งที่สุดแล้วบังคับกล้ามเนื้อหัวไหล่ ท้องแขน ข้อมือ พลังเกาะที่นิ้ว ดึงลำตัวให้ขึ้นให้ได้
8. การอบอุ่นร่างกาย เช่น หัวไหล่ กล้ามเนื้อ หน้าแขน กล้ามเนื้อหลังแขน กล้ามเนื้อบริเวณท้องแขนมาจนถึงข้อมือ ไปจนถึงนิ้วมือทุก ๆ นิ้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อทุกส่วน
9. การตั้งสมาธิ จงมั่นใจว่าเราต้องทำได้
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนทุกคน ตามทฤษฎีข้างต้นนี้
ทำไมเราต้องฝึกดึงข้อ
การดึงข้อก็เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง แต่ที่เราต้องฝึกเพื่อมาใช้สำหรับการโดดร่มนั่นเอง
ฝึกเพื่อให้ได้กำลังที่จะมาดึงข้อแบบนึงที่ได้ผลคือ ทำท่าไถนา (ให้เพื่อนจับขายกมาหนีบกับลำตัวเพื่อน โดยที่เรามีสองแขนยันพื้น แล้วก็ทำท่าดันพื้น และท่าออกกำลังท่าอื่นๆที่จะคิดออก โดยให้อยู่บนพื้นฐานท่าไถนา จะได้กำลังแขนเร็วขึ้นครับ)