เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้าเตรียมทหาร (รอบแรก)
เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้าเตรียมทหาร (รอบแรก)
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายต้องทำเป็นประจำอยู่เสมอ ทั้งก่อนออกและหลังออกกำลังกายจะต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ( วอร์มอัพ ) ก่อนซัก 10 -15 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความพร้อม สำหรับการออกกำลังกายควรเตรียมความพร้อมของ ร่างกายโดยการวิ่ง เพราะการวิ่งจะช่วยทำให้ความฟิตของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาะการออกกำลังกายกลาง แดด จะช่วยให้เราเผาผลาญพลังงานในปริมาณที่มากกว่าปกติ แต่! ระวังจะเกิดการเป็นลมหรือ เกิดอาการฮีทสโตรก ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องดื่มน้ำเป็นประจำ เป็นปริมาณมาก เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
** ข้อควรระวัง **
การออกกำลังกายกลางแดด ควรกระทำในผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ใช่นานๆ ออกครั้ง การออกกำลังกาย กลางแดดควรทำอาทิตย์ละ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว )
นอกจากนี้การวิ่งยังทำให้เพิ่มสมรรถภาพส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย ไม่ว่า จะเป็น การว่ายน้ำ การ sit-up หรือการกระโดด ต่างๆ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อ จะสามารถดึงได้มากขึ้นนั้น ต้อง ดึงฝืน ( การดึงฝืนคือการที่เราสามารถ ดึงได้มากที่สุดแล้ว ฝืนแขนดึงต่อไปอีกครั้งหนึ่ง แม้จะได้หรือไม่ก็ตาม การดึงแบบนี้ ใช้เวลา 2 อาทิตย์ จาก ไม่ได้เลย จะได้ประมาณ 7-9 ครั้ง )
การอ่านหนังสือ (ใกล้วันสอบ )
การอ่านหนังสือก่อนสอบควรอ่านพอประมาณ ไม่จำเป็นต้องอ่านหนัก อ่านทน ไม่ได้นอน หรือนอนน้อย เพราะ การอ่านแบบนี้จะทำให้สมองพักผ่อนน้อย กล้ามเนื้อประสาท อ่อนล้า ทำให้สิ่งที่อ่านผ่านหายไปหมด และตอนเช้าจะทำ ให้ง่วงเพลีย เบื่อหน่าย ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะรับรู้หรือรับฟังอีก
การอ่านควรอ่านประมาณ 1 -1 ½ ชั่วโมง แล้วทำการพักผ่อนอิริยาบท เดิน ดื่มน้ำ ล้างหน้า ฟังเพลง เพื่อให้ กล้ามเนื้อสมองผ่อนคลายรอการใช้งานต่อไป เปรียบเสมือนการออกกำลังกาย ถ้าออกติดต่อกันเป็นเวลานานมาก ๆ จะทำ ให้เกิดการเป็นตะคริว กล้ามเนื้อบาดเจ็บได้
จะเห็นได้ว่าหลายคนมีค่านิยมที่ว่า การอ่านหนังสือดึก ถ้าง่วง ก็ดื่มกาแฟ จะได้ไม่ง่วง อ่านหนังสือได้ต่อไป แต่ถ้าถามไปว่าไอ้ที่อ่านไปรู้เรื่อง เข้าใจหรือเปล่า คำตอบที่ได้เกือบทั้งร้อย คือไม่รู้เรื่อง ได้แค่ " ได้อ่าน "
การอ่านหนังสือ ถ้าเกิดอาการง่วง ไม่ควร ดื่มกาแฟ เพราะกาแฟทำให้ร่างกายเราไม่ง่วงก็จริง แต่สติความคิด ภายในเรายังง่วงอยู่ จึงแนะนำว่าไม่ควรดื่มกาแฟขณะที่ง่วง แต่ถ้าไม่ไหวจริง อ่านไม่ทัน (หรือไม่ได้อ่าน) ควรปฎิบัติดังนี้
คำแนะนำกรณีง่วงนอน
1.ควรหาของร้อน ๆ ดื่ม เช่น โอวัลติน ไมโล เนสเล่ หรือน้ำอุ่น
2.ควรหาน้ำล้างหน้าล้างตา (เป็นน้ำอุ่นได้ยิ่งดี) แปรงฟัน หรืออาบน้ำเลยก็ได้
3.ลุกขึ้นมากายบริหารซักท่า สองท่า ก็จะช่วยได้(แนะนำ! ดันพื้นซัก ห้าสิบซิ)
** ร่างกายควรได้รับการพักผ่อนประมาณ 6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย สำหรับในช่วงการใช้สมองอย่างหนัก **
หลักการอ่านหนังสือสอบ
การอ่านวิชาคณิตศาสตร์
ที่ผ่านมา วิชาคณิตศาสตร์เน้นความเข้าใจ ถึงแม้น้องท่องสูตรได้มากมาย แต่โจทย์ที่ออกมาจะออกแบบสูตรพื้นๆ แต่ดันออกแบบถามความเข้าใจเรา ไม่มีกฎตายตัวแน่นอนน้องจึงต้องพยายามอ่านสูตรพื้นฐานต่าง ๆ ให้เข้าใจ ทำโจทย์ เพื่อให้เราเชื่อมโยงสูตรแต่ละสูตรได้ สุดท้าย จะเห็นว่าสูตรที่แปลกตาน้องหลายสูตร เกิดจากสูตรไม่กี่สูตร เชื่อมโยง ผสานกับความเข้าใจเท่านั้น
วิชาวิทยาศาสตร์ ถ้ามองในภาพมัธยมปลาย จะแบ่งได้ สามส่วน คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แต่ในการออกข้อสอบ นั้น จะออกเพียงพื้นฐานเท่านั้น เพื่อที่จะทดสอบว่า น้อง มีความรู้พอที่จะศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายหรือไม่ อย่าเห็นว่า ออกไม่ค่อยมากแล้วจะทิ้งไป เพราะข้อสอบวิทย์ ม.ปลายเพียงสอง สามข้อนี้ เป็นจุดตัดสินว่า น้องอาจจะได้ลำดับที่ 180 หรือ 200 เลยทีเดียว เพราะแต่ละอันดับที่จะห่างกันเพียงไม่กีคะแนนเท่านั้น
การอ่านวิชาวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์
วิชาฟิสิกส์จะเน้นเข้าใจสูตร (เข้าใจจริงๆ นะ ไม่ใช่ ท่องได้เฉยๆ)แล้วสามารถทำการคำนวณโจทย์ทดสอบใน รูปแบบต่าง ๆ
เตรียมตัวแบบวิธีลัด (ไม่ค่อยอยากให้ทำนะ ถ้าใจไม่ถึงพอและเสี่ยงมากด้วย)
ถ้ามองภาพรวมยังไม่เข้าใจว่าเรื่องแต่ละเรื่องเป็นอย่างไร แนะนำว่า ให้ท่องสูตรให้แม่น (เข้าห้องน้ำ เดิน วิ่ง ท่อง จนขึ้นใจ ชนิดที่ว่าขึ้นตัวแปรเดียวเขียนได้เป็นหน้ากระดาษ) แล้วเราตะลุยข้อสอบ ทำไม่ได้ เปิดเฉลย อ่านให้ ละเอียดละออ แล้วกลับไปทำใหม่ เขียนวิธีทำข้อนั้นซัก 3-4 รอบจะเข้าใจได้เองในConceptของโจทย์ทำไปเรื่อย ๆ เท่าที่จะทำได้(อย่าทำไปได้ 2-3 ข้อ แล้วเบื่อเลิกทำไปซะก่อนล่ะ)
ถ้าน้อง ๆ ทำไป จะเห็นได้ว่าโจทย์แต่ละข้อที่ออกในหนังสือ จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน แต่เปลี่ยนนิดหน่อย พลิก แพลงบ้างเท่านั้น ถ้าไม่เชื่อ ลองหาหลังสือ ฟิสิกส์ Entrance พันข้อ มานั่งเปิด ๆ ดู แล้วจะเห็นว่าคล้าย ๆ กัน ใน หลาย ๆ ข้อเลยล่ะ
มีการอ่านสองแบบ
แบบที่หนึ่ง - การอ่านสูตรรวมในเรื่องนั้น ๆ ทั้งหมด แล้วค่อยมา ตะลุยข้อสอบ เช่น เรื่องแรงและพลังงาน ก็อ่านสูตร ตั้งแต่ สูตรแรง พลังงานศักย์ จลน์ ไปจนหมด แล้วค่อยทำข้อสอบ
แบบที่สอง - อ่านแบบสูตรต่อโจทย์ คือ อ่านหนึ่งสูตร แล้วเสาะแสวงหาโจทย์ที่เกี่ยวกับสูตรที่อ่าน แต่ในบางข้อต้อง ใช้หลายสูตรมาหาและความเข้าใจด้วย ฉะนั้นจึงควรให้อาจารย์คอยแนะนำเป็นดีที่สุดในเรื่องของการทำโจทย์ต่าง ๆ
เคมี (จำ+เข้าใจ+คำนวณ)
จะเห็นได้ว่าเนื้อหาวิชาเคมีนั้น เป็นนื้อหาที่มีภาค ทฤษฎี และภาคสูตรคำนวณ จึงต้องอ่านให้เข้าใจเป็นเรื่อง ๆ เพราะสูตรกับทฤษฎีนั้นก็จะอธิบายกันเองอยู่แล้ว
การท่องตารางธาตุเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าน้องท่องได้จะได้เปรียบคนอีกมากมาย เพราะน้องท่องได้ ก็เรียง น้ำหนักมวล ค่าประจุต่าง ๆ ได้ ซึ่งมีคนอีกหลายคนไม่ท่องกัน เพราะคิดว่าไม่สำคัญ แต่เมื่ออยู่มัธยมปลายอาจารย์จะปากเปียกปากแฉะ เกี่ยวกับเรื่องการท่องตารางธาตุมาก ๆ เพราะจะเป็นพื้นฐานเคมีทุกเรื่องเลย(โจทย์บางโจทย์ ให้เรียงน้ำหนักธาตุเท่านั้นเอง)
วิชา ท่องจำ+เข้าใจ
วิชาท่องจำ และความเข้าใจเป็นพวกวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ซึ่งต้องใช้เวลาในการอ่านมากกว่าวิชาคำนวณ
วิทย์พื้นฐาน(บางเรื่อง)
หลักการอ่านก็ไม่ยาก แต่หลักการจำต้องอาศัยความพยายามซะหน่อยในการท่องจำ จะบอกให้ทราบในหัวข้อต่อ ๆ ไป (เช่น เรื่องหิน แร่ เป็นต้น)
วิชาภาษาอังกฤษ
Grammar ช่วยได้มากที่สุด รองมาพวก การอ่านแปล เข้าใจ สื่อบทความ ส่วนเรื่องศัพท์ เป็นเรื่อง รองๆ เพราะมีหลายครั้งที่ออกข้อสอบมา ศัพท์อะไรไม่รู้เลย (เพราะไม่เคยเห็น ยากมาก) จึงต้องอาศัย Grammar+คำใบ้ ในโจทย์นิดหน่อยในการทำข้อสอบ (ถ้าจำไม่ผิดเรียกว่า Context Clue อะไรประมาณเนี๊ย) ลองให้อาจารย์ช่วยแนะดู พี่ก็อธิบายในหน้ากระดาษนี้ไม่ได้หรอก
Grammar พี่ว่าน้อง ๆ ควรเน้น Simple Tenseกับ Continous Tense ต่าง ให้เข้าใจ(ซึ่งแต่ละ อย่างมี 3 แบบคือ อดีต(past tense) ปัจจุบัน(present tense) อนาคต(future tense) โดยการจำรูปแบบ ประโยค การใช้ ข้อยกเว้นต่างๆ
ประโยค 12 แบบ
Simple Continuous Perfect Perfect Continuous
Past Pa.S. Pa.C. Pa.P. Pa.P.C.
Present Pr.S. Pr.C. Pr.P. Pr.P.C.
Future F.S. F.C. F.P. F.P.C.
เวลาทำข้อสอบเตรียมทหารนั้น ต้องสังเกตเป็นอย่างมากเพราะในโจทย์จะมีอะไรเล็กๆ น้อยที่คาดไม่ถึง เช่น โจทย์ รูปภาพต่าง ๆ โจทย์สัญลักษณ์ จะมีคำใบ้เสมอ ๆ
วิชาภาษาไทย
พี่อาจจะแนะนำได้ไม่มากนัก เพราะทุกเรื่องก็สำคัญหมด เช่น เรื่องคำ-เขียนผิดเขียนถูก หรือเรื่องประโยค- ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด เรื่องบทความวรรณคดี-กลอนบทนี้มาจากเรื่องอะไร แง่คิดอะไร และจะมีคำถาม เกี่ยวกับบทความ หนังสือแปลกประหลาดมาเสมอ ที่เราไม่เคยอ่านไว้เป็นจุดตัดสินคะแนน(แต่ไม่ต้องใส่ใจคำถามพิลึก นั้นมาก เพราะ เกือบจะร้อยละ 80-90 ไม่รู้เหมือนกัน)
เวลาอ่านภาษาไทยแนะนำพวกหลักภาษามาก่อนเลย พวกวรรณคดี ยังไงน้องก็ต้องเคยผ่านตามามั่งแล้ว เนื้อหา พวกนี้มันเป็นเรื่องเป็นตำนานมีอารมณ์ความรู้สึก จะจำได้ง่ายกว่า พวกหลักภาษาเพราะมันไม่ได้สื่อออกมาเป็นเรื่องราว ความรู้สึก
วิชาสังคม
อ่านง่ายหายไว เป็นคติของพี่ เพราะอ่าบปั๊บ หายปุ๊บ ถ้าอ่านไม่เป็น เพราะการอ่านวิชาสังคมต้องอ่านแบบ เชื่อมโยง ไม่ใช่การอ่านแบบผ่านหัวข้อ
หนังสือ สังคม ประวัติศาสตร์ทุกวันนี้ มักจะเรียงลำดับหัวข้อมา ทำให้อ่านง่าย แต่จำยาก ต่อให้น้อง สรุปย่อ ความ ถ้าสรุปไม่เป็น สรุปทื่อ ๆก็ไม่ช่วยให้น้องจำได้มากเลย การสรุปแบบแผนภูมิ แมปปิ้ง จึงช่วยได้มากที่สุด(ที่พี่เคยทำ นะ) เพราะเราสามารถเชื่อมโยงหัวข้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น อ่านเข้าใจง่าย ส่วนรายละเอียดที่น้องจดบันทึกไม่ได้ในกระดาษ น้องก็ไปอ่านแยกเอา ถึงเวลา ก็ทำเครื่องหมายสัญลักษณ์หัวข้อนั้น ๆ ว่า ยังมีเนื้อหาสำคัญอีกนะ ไม่ต้องพลาดส่วนสำคัญ ไป
อย่าลืมอ่านความรู้ทั่วไปด้วยล่ะ!
วิธีการทำให้จำ
1. ถ้าเข้าห้องน้ำ เอาสิ่งที่ต้องการจำแปะไว้ เวลาถ่ายหนัก ท่องไปด้วย(เห็นผลแน่นอนแต่ไม่รู้ว่าผลอะไรนะ)
2. การจำเป็นแบบสร้างภาพก็ใช้ได้ เช่น การท่องจำชื่อประเทศ ชื่อธาตุต่าง ๆ เราก็นำมาแต่งให้อ่านง่ายขึ้น หรือ สอดคล้องกันก็ได้ เช่น
Li Be B
Na Mg Al
K Ca
ก็ท่องว่า "ลิ(Li)น๊าก(Na,K)เบค(Be,Mg)แคม(Ca)บอล(B,Al)" เป็นต้น
3. การจำแบบเชื่อมโยง การจำแบบนี้จะต้องมีความรู้พื้นฐานบ้าง แล้วนำส่วนที่เหมือน ๆ กันมา จับคู่เชื่อมโยงทำ ให้ไม่ลืม(เหมือนการเล่นหมากรุกไทยถ้าใครเคยเล่น ที่ว่ามี ตัวผูกยิ่งมากเราจะได้เปรียบ ตัวผูกคือ ความรู้พื้นฐานที่มี และ ตัวถูกผูก คือ ความรู้ใหม่ที่ใส่ไปนั่นเอง)
4. กินปลา (ช่วยได้นะ) กินผักบุ้งบำรุงสายตา สมองด้วย
"อะไรบ้างที่ควรมี ใน สมุดโน้ต ของน้อง ๆ "
ที่ควรมีในสมุดโน๊ตช่วงกำลังทำความเข้าใจมีดังนี้
วิชาฟิสิกส์(วิทย์)
ที่ควรมีก็คือสูตร ข้อความอธิบายสูตร โจทย์ตัวอย่าง โจทย์พิเศษ
วิชาเคมี(วิทย์)
ก็มีทฤษฎีแบบสรุป(เอาเนื้อนะ) และสูตร(ซึ่งอาจจะมีอธิบายเพิ่มเติม ถ้าสูตรมันวุ่นวายไป) ที่สำคัญ ตารางธาตุ อย่าลืมเสียล่ะ(ไม่ต้องเอาหมดก็ได้ เอา แบบพอจะใช้เท่านั้นก็พอแล้ว)
วิชาคณิตศาสตร์
สำหรับพี่คิดว่ามีสูตร ข้อยกเว้น ทฤษฏี คุณสมบัติต่างๆ รวมถึงโจทย์พิสดารเสริมความเข้าใจ
วิชาภาษาอังกฤษ
ควรมีสรุป Grammarเรื่อง Present และPast Tense 3แบบ คือ Sim ConและPerfect (รวม6 เรื่อง Present มี 3 แบบและPast อีก 3 แบบ)ประกอบกับFutureอีก 2 แบบ คือ Sim กับ Con ก็น่าจะ ครอบคลุมแล้วล่ะ รวมทั้งคำศัพท์ เทคนิค คำใบ้ต่างๆ จากที่ได้ทำโจทย์
วิชาภาษาไทย
หลักภาษาต่าง ๆ แบบละเอียดนิดนึง(เอามีน้ำปนบ้าง) คำแปลกๆ ประโยคแปลกๆ รวมถึงข้อความ บทกลอนที่สำคัญ และสิ่งที่ได้จากการอ่านวรรณคดี(ตามที่เคยเรียนตอน ม.ต้น อาจมี ของ ม.4บ้างติ๊ดนึง)
วิชาสังคม
สรุปแผนผังมโนภาพแบบ หรือการสรุปเป็นแผนภูมิต้นไม้ก็ได้ ปีที่สำคัญเกี่ยวกับกองทัพหรือสงครามสำคัญๆ
ก่อนสอบ.........ไม่กี่วัน...
สมุดโน้ต ควรเหลืออะไรบ้างล่ะ?
ทุกอย่างในสมุดโน้ตน้องที่เหลือตอนนี้คือเรื่องที่จำไม่ได้จริงๆ และหัวข้อใหญ่ เนื้อไม่มี เพราะ อะไรนั่นหรือ? เพราะว่าตอนนี้ น้องเห็นหัวข้อปุ๊บ ต้องเห็นภาพสูตร เนื้อหาคร่าวๆได้เลย แม้จะยังใช้ไม่ช่ำชองหรือเข้าใจลึกซึ้งเท่าไหร่ นัก แต่ถ้าจำไม่ได้ ก็เปิดไปหน้าเก่า ๆ แล้วดูอีกครั้ง พร้อมกับดันพื้นไปซัก 30-40 ด้วย เพื่อกระตุ้นตนเองเสมอล่ะ(พลิกดู 20 เที่ยว ก็ดันพื้นไป 600-800 แล้วล่ะ)
แล้วร่างกายปล่อยไว้ก่อนใช่มั๊ย? นึกในใจ "เอาให้มันติดก่อนแล้วค่อยซ้อมก็ยังทันน่า" รับรองครับว่าน้องเสร็จ แหงแก๋.. เพราะเวลาไม่กี่วันที่น้องจะสอบนี้ทำให้แรงน้องตกฮวบฮาบได้เลยถ้าไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ที่แนะนำคือ การออกกำลังกายเบา วิ่งเหยาะๆ และ เวทเทรนนิ่ง ซักเล็กน้อย ถ้าอย่างอื่นไม่ได้จริง ก็เอาวิ่งกับว่ายน้ำก่อนเลยให้มันชัวร์ เพราะมีมาแล้ว ติดอันดับที่ 1 ใน 20 แต่ตกว่ายน้ำ
" พรุ่งนี้ตัดสินทางเลี้ยวของชีวิต ( ว่าจะหักโค้งเข้าไปได้ไหม หรือจะไปชนตอข้างทาง ) "
วันสอบ...
อันดับแรกอย่าตื่นเต้นนะน้อง ทำใจ ดี ๆไว้ นอนแต่สาม สี่ทุ่มเลย ไม่หลับก็นอนเล่นไปเรื่อย อย่าคิดเรื่องสูตร โจทย์จนอะไรเลอะเทอะวุ่นวาย นอนไปเรื่อยจนหลับไม่ต้องสนใจว่ากี่โมง (หลับแบบนี้ดีกว่าหลับแบบเพลีย ๆจากการ อ่านหนังสือมาเยอะ เพราะตื่นมา สมองจะอยู่ในสภาพพร้อมใช้ เต็มร้อยเลย) ตื่อเช้าซักนิด จากเดิม อ่านสมุดโน๊ต ฉบับเก่า เนื้อหาพิเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ จนเช้ารับประทานอาหารพอดี อย่าอิ่มเปรี๊ยะ หรือหิวโหยอดอยาก เพราะถ้าอิ่มมากจะเกิด ผลเสียคือ ง่วงครับ หลับแน่ถ้าแอร์เย็นๆ (ยกเว้นม.ราม 2 ไม่หลับแน่ ร้อนตับแตก หูแดง) และอย่าอด ๆ อยากๆ เพราะจะ คิดอะไรไม่ออก ท้องมัวแต่ร้อง การทาน ควรทานอาหารที่ย่อยง่ายหน่อยไม่ควรทานพวกเนื้อสัตว์เยอะ(ย่อยยาก)
จำไว้ "เราจะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เวลาสอบใช้เวลากับการคิดคำนวณมากที่สุดตัดปัญหาเล็กน้อยหยุมหยิม ไม่ให้เหลือ" (ไม่ใช่มานั่งนึกเนื้อหาที่เลือนลาง เหลาดินสอ ฝนยางลบ)
หลายคนจะตื่นสถานที่สอบและพวกนักเรียนที่มาสอบ คนจะเยอะมากจริง ๆ และจะมีพี่นักเรียนนายร้อยมาคุม ทำให้ความรู้เปิดเปิงไปหมด พยายามหาที่เงียบ อ่านหนังสือ สมุดโน๊ตของเรากับเพื่อนๆไปจะดีที่สุด
อ่านสมุดโน๊ต แบ่งหัวข้อในแต่ละวิชาเป็นสองส่วน คือได้ (100%) กับ ทำไม่ได้ (หรือไม่แม่นเท่าไหร่) แล้วเขียน ใส่กระดาษ แล้วจำเอาไว้ว่าหัวข้อไหนแม่นสุด พอตอนเจอข้อสอบก็ทำการคิดแล้วกาได้เลยไม่ต้องมานั่งนึกว่าเรื่องนี้เรา ทำได้หรือเปล่า หรือ เรื่องนี้เนื้อหาแม่นหรือเปล่า เสียเวลาอันมีค่าไป
ตอนเช้าก่อนสอบ หาข้าวกลางวันให้เรียบร้อยซะ(ถ้าไม่อยากกินข้าวของค่ายติว) เพราะออกมาปั๊บ คนจะ เยอะมากๆ ทำให้เสียเวลาในการอ่านหนังสือไปกับการหาอาหารกลางวัน
ขณะสอบ...
1. กวาดอ่านข้อสอบคณิต ตามด้วยวิทย์ แบ่งเรื่องเป็นสองส่วน คือได้แบบแน่ๆ กับไม่มั่นใจ(หรือไม่ได้) จัดการ ประมวลผลข้อง่ายๆก่อน ข้อสอบที่เหลือทิ้งไว้ทำวิชาอื่น(ข้อที่ได้ชัวร์เหมือนกัน) และจะเห็นว่า เอ... ทำไมข้อที่ฝนดำไป ทำไมมันหลอมแหลมจัง ไม่ต้องสน เสียเวลา 1-2 นาทีทำการคำนวณคะแนน คร่าวๆ ประมาณเท่าไหร่ จดไว้
2. หลังจากนั้นนั่งพิจารณาว่าข้อที่ไม่มั่นใจออกมาจากข้อที่ไม่ได้ ทำการลุย(โดยใช้ความรู้ที่มี + ไหวพริบ ในการเดา ) ทำเท่าที่ได้จนเสร็จ คำนวณข้อที่ได้คร่าวๆ เท่านั้นนะได้คะแนนขั้นต่ำที่เราควรจะได้
3. ที่เหลือข้อที่ไม่ได้ก็ทำวิชาคำนวณดีกว่า เพราะ
3.1 มีคะแนนมากกว่า
3.2 ใส่สูตรแทนมั่วๆ อาจออก ( เพราะคำตอบมีที่มาที่ไปจากตัวเลขที่โจทย์ให้มา )
4. ถ้าเกิดเหตุเวลาไม่ทันขณะที่ยังทำชุด "ไม่แน่ใจ"อยู่ ให้ทำการปฏิบัติตามข้อ 3. และเหลือเวลาซักเล็กน้อย เพื่อทำการกามั่วซะ(แต่ก็ควรดูบางข้อจะมีใบ้อยู่)
5. ก่อนส่งข้อสอบทำการเช็ครหัสเลข ชื่อ สกุลต่างๆ ให้ละเอียดเสมอและเก็บ
6. อย่าลืมขอพรจากพี่เขาด้วยก่อนเดินออก (โชคดีนะน้อง!)